แบบทดสอบเรื่อง อุบัติเหตุและการป้องกันอันตรายในห้องปฏิบัติการ
1. การกระทำในข้อใด ที่ทำให้สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
การปล่อยสารเคมีไว้ในภาชนะเปิด ภายในตู้ดูดควันสวมถุงมือเมื่อต้องเทกรดความเข้มข้นสูงออกจากขวด
การสูดดมไอของสารเคมี
สารเคมีเข้าปาก
การระเบิด
3. ข้อปฏิบัติใด เป็นการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดผิวหนังไหม้เกรียม
การจับบีกเกอร์ที่มีน้ำร้อนลงจาก hot plate ด้วยมือเปล่า
การเช็ดสารเคมีที่หกเลอะบนโต๊ะทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
สารเคมีที่หกกระเด็นจากบีกเกอร์เพียงเล็กน้อย ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องรีบเช็ดทำความสะอาด
เมื่อมีสารเคมีหกรดตัวเป็นบริเวณกว้าง ทำการชำระล้างโดยที่ล้างตัวฉุกเฉิน
เฉลย ❤ เมื่อมีสารเคมีหกรดตัวเป็นบริเวณกว้าง ทำการชำระล้างโดยที่ล้างตัวฉุกเฉินโดย เมื่อสารเคมีหกรดตามร่างกายเป็นบริเวณกว้าง ให้รีบถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออก และเช็ดหรือซับ สารเคมีออกให้มากที่สุดอย่างรวดเร็วภายใน 15 วินาที แล้วชำระล้างสารเคมีออกจากร่างกายโดยใช้ที่ล้างตัวฉุกเฉิน เปิดน้ำให้ ไหลพุ่งลงมาโดยดันคันโยกขึ้น และล้างตัวเป็นเวลาประมาณ 15 นาที จากนั้นรีบพาไปพบแพทย์
4. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสารเคมีเข้าปากได้
การใช้ลูกยางในการดูดสารเคมีเข้าปิเปต
ถ้าสวมถุงมือขณะทำการทดลอง ไม่จำเป็นต้องล้างมือหลังทำการทดลองเสร็จ
การโบกพัดไอของสารที่ต้องทดสอบด้วยการสูดดมเข้าหาจมูก
ไม่ดื่มหรือกินของขบเคี้ยวในห้องปฏิบัติการ
เฉลย ❤ ถ้าสวมถุงมือขณะทำการทดลอง ไม่จำเป็นต้องล้างมือหลังทำการทดลองเสร็จ เพราะควรล้างมือทุกครั้งหลังจากทำการทดลองแต่ละขั้นตอนเสร็จ และต้องล้างด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมี ถึงแม้ว่าจะสวมถุงมือขณะทำการทดลองตลอดเวลา เมื่อถอดถุงมือออกแล้ว ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
5. อุปกรณ์ความปลอดภัยใดในห้องปฏิบัติการ ที่ใช้เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายมากและไม่สามารถจัดการด้วย ตนเองได้
ที่ล้างตัวฉุกเฉิน
เครื่องดับเพลิง
สัญญาณเตือนภัย
เฉลย ❤ สัญญาณเตือนภัยเพราะ เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือพบเห็นอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นอันตรายมากและไม่สามารถ จัดการด้วยตนเองได้ ต้องส่งสัญญานเตือนภัยทันที โดยดึงสลักลง หลังจากนั้นต้องรีบออกจากห้องปฏิบัติการและอาคารไปยัง จุดรวมพล
6. ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจำเป็นต้องอพยพคนออกจากอาคาร ควรปฏิบัติตามข้อใด
ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่ก่อนออกจากห้อง
ถ้าลิฟท์ยังทำงาน ขึ้นลิฟท์เพื่อลงมาชั้นล่าง
รีบวิ่งลงบันได ทางประตูฉุกเฉิน
นำชุดปฐมพยาบาลติดตัวลงมาด้วย เผื่อใช้
เฉลย ❤ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่ก่อนออกจากห้อง ต้องรู้เส้นทางที่สั้นที่สุดที่สามารถออกสู่ภายนอกอาคารจากห้องปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว และควรศึกษาหาทาง-ออกจากห้องปฏิบัติการอย่างน้อย 2 ทาง เพื่อเตรียมไว้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ถ้าจำเป็นต้องอพยพผู้คนออกจากอาคารให้ปิด และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังใช้อยู่ เดินลงทางบันได ห้ามใช้ลิฟต์ ควบคุมสติระหว่างการอพยพ
7. ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติทั่วไปที่ควรทำในห้องปฏิบัติการ
นำกระเป๋าและสิ่งของต่างๆ เข้ามาในห้องปฏิบัติการให้หมด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัย
วิ่งเล่นในห้องปฏิบัติการ
ไม่สัมผัสและสูดดมสารเคมีโดยตรง
ทำการทดลองนอกเหนือจากคู่มือปฏิบิติการหรือที่อาจารย์กำหนด
เฉลย ❤ ไม่สัมผัสและสูดดมสารเคมีโดยตรง สารเคมีทุกชนิดมีความดันไอค่าหนึ่ง ในห้องปฏิบัติการจึงมีกลิ่นไอของสารเคมีปะปนอยู่ มากมาย ถ้าเก็บสารเคมีไว้ปริมาณมาก จะมีไอของสารเคมีในบรรยากาศมาก เมื่อสูดดมไอของสารเคมีบางชนิดจะทำให้จมูก คอ และปอดระคายเคือง ความเป็นอันตรายขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย จึงต้องหลีกเลี่ยงการสูดดมไอของสารเคมี โดยตรง ถ้าจำเป็นต้องทดสอบด้วยการสูดดม ให้ถือภาชนะบรรจุสารเคมีห่างจากตัวประมาณ 6 นิ้ว แล้วใช้มือโบกพัดไอ เข้าหาจมูก ถ้าต้องการระเหยตัวทำละลายออก ต้องทำในตู้ดูดควัน หรือทำโดยการกลั่น ห้ามระเหยแห้งโดยการต้มในภาชนะเปิด ที่โต๊ะปฏิบัติการ
8. การแต่งกายในข้อใด ไม่เหมาะสมในการเข้าทำปฏิบัติการ
ใส่รองเท้าที่ปิดด้านหน้ามิดชิด แต่เปิดส้นได้
ผู้หญิงที่ไว้ผมยาว ทำการรวบผูกไว้หลังศีรษะ
สวมเสื้อที่หลวมจนเกินไป
เฉลย ❤ สวมเสื้อที่หลวมจนเกินไป อย่าสวมเสื้อที่รัดรูปหรือหลวมจนเกินไป ไม่ควรสวมเครื่องประดับหรือผูกเน็คไท ให้รวบ และผูกผมยาวไว้หลังศีรษะ เพื่อป้องกันการเกี่ยวหรือเหนี่ยวรั้งสิ่งของต่างๆ ขณะทำการทดลอง ซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อีกทั้งควรสวมกางเกงขายาว แต่ถ้าเป็นกางเกงขาสั้นหรือกระโปรง จะต้องมีความยาวคลุมเข่า
9. ข้อใดไม่ใช่แหล่งข้อมูลในการหาสมบัติกายภาพและอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
Merck Index
Handbook of Chemistry and Biology
Material Safety Data Sheet
เฉลย ❤ Material Safety Data Sheet ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลเหล่านี้ได้จาก หลายแหล่ง ได้แก่ หนังสือคู่มือต่างๆ เช่น เมิร์กอินเดกซ์ (Merck Index) และคู่มือของเคมีและฟิสิกส์ (Handbook of Chemistry and Physics) แต่จะได้ข้อมูลสั้นๆ สำหรับข้อมูลอย่างละเอียดสามารถหาได้จากเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสาร (Material Safety Data Sheet) หรือเรียกย่อว่า เอ็มเอสดีเอส (MSDS) ซึ่งจัดทำโดยบริษัทผู้ผลิตสารเคมีและองค์กรต่างๆ หลายองค์กร และสามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็วจากอินเทอร์เน็ต แต่เป็นภาษาอังกฤษ ปัจจุบันมีเอ็มเอสดีเอสที่จัดทำเป็นภาษาไทย
10. ระหว่างทำการทดลอง ไม่ควรปฏิบัติตามข้อใด
ถ้าใช้สารที่มีความเป็นพิษสูง ทำการทดลองในตู้ดูดควัน หรือบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี
ก่อนผสมสารเคมีใดๆ อ่านชื่อที่ฉลากบนขวดหรือภาชนะให้แน่ใจว่าหยิบถูกต้องแล้ว
ก่อนเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรตรวจสอบว่าสายไฟไม่ชำรุด
สามารถอุ่นตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นสารไวไฟ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์ โดยตั้งบนเตาไฟฟ้า โดยตรงได้
เฉลย ❤ สามารถอุ่นตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นสารไวไฟ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์ โดยตั้งบนเตาไฟฟ้า โดยตรงได้ เพราะตัวทำละลายหกหรือเดือดล้นออกมาจากภาชนะจะเกิดการลุกไหม้ได้ทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น